สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด มีหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทเหมาะกับอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น สติ๊กเกอร์เนื้อกึ่งมันกึ่งด้าน, เนื้อขาวด้าน, เนื้อขาวเงา, เนื้อ PP, เนื้อ Direct Thermal, เป็นต้น สติ๊กเกอร์ทุกแบบสามารถใช้ได้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น Brother, Zebra , TSC หรือ Honeywell เป็นต้น โดยเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแต่ละรุ่นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมและประเภทของสติ๊กเกอร์
ประเภทสติ๊กเกอร์
1. สติ๊กเกอร์กึ่งมันกึ่งด้าน (Semi-Gloss) เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีราคาค่อนข้างถูก ใช้กับงานทั่วๆ ไป โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Ribbon
2. สติ๊กเกอร์ขาวด้าน - เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์ที่นิยมใช้มากเช่นกัน เนื้อสติ๊กเกอร์มีความขาวและมีความมันเพียงเล็กน้อย มีราคาเกือบเท่ากับเนื้อกึ่งมันกึ่งด้าน ใช้กับงานทั่วๆ ไป เช่นเดียวกัน โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Ribbon
3. สติ๊กเกอร์เนื้อขาวปกติ (TTR) เป็นสติ๊กเกอร์ที่มีลักษณะสีขาวมีความเงาสวยงาม เหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการ pre-printed หรือสติ๊กเกอร์ที่สั่งพิมพ์ข้อความมาจากทางโรงงาน เพราะจะมีความคมชัด สวยงาม โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Ribbon และ Wax Resen Ribbon
4. สติ๊กเกอร์ฟรอยด์ (Foil) เป็นสติ๊กเกอร์เนื้อสีเทาและความหนามากกว่าสามแบบก่อนหน้านี้ ราคาค่อนข้างสูงจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความคงทนของเนื้อสติ๊กเกอร์ เช่น ติดทรัพย์สินของบริษัท, งานอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ ซึ่งต้องการสติ๊กเกอร์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนความร้อนได้สูง ขูดไม่ออก โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Resin Ribbon หรือ Resin Ribbon
5. สติ๊กเกอร์ความร้อน (Direct Thermal) - เป็นสติ๊กเกอร์แบบความร้อนที่มีหมึกในตัวเหมือนกระดาษแฟกซ์ ซึ่งเครื่องพิมพ์ที่เหมาะสมที่จะใช้สั่งพิมพ์ควรจะเป็นเครื่องพิมพ์ที่เป็นระบบ Direct Thermal เพราะคุณสมบัติของหัวพิมพ์จะต้องทนต่ออุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ ราคาของสติ๊กเกอร์ชนิดนี้จะสูงกว่าเนื้อทั่วๆ ไป เพราะมีหมึกในตัวและไม่จำเป็นต้องใช้หมึกพิมพ์เหมือนสติ๊กเกอร์ชนิดปกติ มักจะถูกใช้งานกับอุตสาหกรรมแบบ Logistic หรือไม่ต้องการความคงทนมาก รวมถึงสะดวกในการทำงานของผู้ใช้งานเพราะไม่ต้องกังวลเรื่องคุณภาพของริบบอน
6. สติ๊กเกอร์เนื้อ PP Mat (UPO) - เป็นสติ๊กเกอร์มีความทนทานสูง ฉีกไม่ขาด กันน้ำได้ สติ๊กเกอร์มีทั้งชนิดขาวมัน และขาวด้าน ราคาสูง ขาวด้านราคาจะถูกกว่าจึงเป็นที่นิยม เหมาะกับงานอุตสาหกรรมอาหาร งานห้องเย็น งานติดทรัพย์สิน โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Resin Ribbon หรือ Resin Ribbon
ประเภทสติ๊กเกอร์
1. สติ๊กเกอร์กึ่งมันกึ่งด้าน (Semi-Gloss) เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีราคาค่อนข้างถูก ใช้กับงานทั่วๆ ไป โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Ribbon
2. สติ๊กเกอร์ขาวด้าน - เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์ที่นิยมใช้มากเช่นกัน เนื้อสติ๊กเกอร์มีความขาวและมีความมันเพียงเล็กน้อย มีราคาเกือบเท่ากับเนื้อกึ่งมันกึ่งด้าน ใช้กับงานทั่วๆ ไป เช่นเดียวกัน โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Ribbon
3. สติ๊กเกอร์เนื้อขาวปกติ (TTR) เป็นสติ๊กเกอร์ที่มีลักษณะสีขาวมีความเงาสวยงาม เหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการ pre-printed หรือสติ๊กเกอร์ที่สั่งพิมพ์ข้อความมาจากทางโรงงาน เพราะจะมีความคมชัด สวยงาม โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Ribbon และ Wax Resen Ribbon
4. สติ๊กเกอร์ฟรอยด์ (Foil) เป็นสติ๊กเกอร์เนื้อสีเทาและความหนามากกว่าสามแบบก่อนหน้านี้ ราคาค่อนข้างสูงจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความคงทนของเนื้อสติ๊กเกอร์ เช่น ติดทรัพย์สินของบริษัท, งานอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ ซึ่งต้องการสติ๊กเกอร์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนความร้อนได้สูง ขูดไม่ออก โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Resin Ribbon หรือ Resin Ribbon
5. สติ๊กเกอร์ความร้อน (Direct Thermal) - เป็นสติ๊กเกอร์แบบความร้อนที่มีหมึกในตัวเหมือนกระดาษแฟกซ์ ซึ่งเครื่องพิมพ์ที่เหมาะสมที่จะใช้สั่งพิมพ์ควรจะเป็นเครื่องพิมพ์ที่เป็นระบบ Direct Thermal เพราะคุณสมบัติของหัวพิมพ์จะต้องทนต่ออุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ ราคาของสติ๊กเกอร์ชนิดนี้จะสูงกว่าเนื้อทั่วๆ ไป เพราะมีหมึกในตัวและไม่จำเป็นต้องใช้หมึกพิมพ์เหมือนสติ๊กเกอร์ชนิดปกติ มักจะถูกใช้งานกับอุตสาหกรรมแบบ Logistic หรือไม่ต้องการความคงทนมาก รวมถึงสะดวกในการทำงานของผู้ใช้งานเพราะไม่ต้องกังวลเรื่องคุณภาพของริบบอน
6. สติ๊กเกอร์เนื้อ PP Mat (UPO) - เป็นสติ๊กเกอร์มีความทนทานสูง ฉีกไม่ขาด กันน้ำได้ สติ๊กเกอร์มีทั้งชนิดขาวมัน และขาวด้าน ราคาสูง ขาวด้านราคาจะถูกกว่าจึงเป็นที่นิยม เหมาะกับงานอุตสาหกรรมอาหาร งานห้องเย็น งานติดทรัพย์สิน โดยใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ Wax Resin Ribbon หรือ Resin Ribbon
ความคิดเห็นของลูกค้า
เพิ่มรีวิวของคุณ